ความเป็นมาของนโยบาย
การเงินในประเทศไทย

ตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ได้มีการตราพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2485 ภายใต้พระราชบัญญัติดังกล่าว ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่ดำเนินธุรกิจของ ธนาคารกลาง และหน้าที่อื่นๆ ซึ่งจะกำหนดโดยการตราพระราชกฤษฎีกา ในกฎหมายนี้ถึงแม้มิได้ระบุเรื่องนโยบายการเงินอย่างชัดแจ้ง แต่ก็กำหนดให้คณะกรรมการธนาคารมี อำนาจในการกำหนดอัตรา ดอกเบี้ยมาตรฐาน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ ธปท. เรียกเก็บจากการเป็นแหล่งเงินกู้แหล่งสุดท้าย (Lender of the last resort) ของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ ยังให้อำนาจ ธปท. ในการซื้อขายตราสารหนี้และเงินตราต่างประเทศ ตลอดจนให้สินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่สถาบันการเงิน ซึ่งในเรื่องเหล่านี้ ธปท. มิได้กระทำ

นโยบายการเงินของไทยแบ่งได้เป็น 3 ช่วงคือ

/

การกำหนดเป้าหมาย
ของนโยบายการเงิน

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมาย เงินเฟ้อแบบยืดหยุ่น (Flexible Inflation Targeting) มาตั้งแต่เดือน พฤษภาคม 2543 โดยให้ความสำคัญกับการรักษาเสถียรภาพด้านราคาผ่าน การกำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อหรือเรียกว่า เป้าหมายของนโยบายการเงิน ควบคู่ ไปกับการดูแลการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการรักษาเสถียรภาพของระบบ การเงิน

ดูเป้าหมายของนโยบายการเงินประจำปี

การดูแลให้ระบบเศรษฐกิจมีเสถียรภาพด้านราคา
อีกหนึ่งพันธกิจหลักของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

การมีอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำและไม่ผันผวน (Low and stable inflation) ซึ่งจะช่วยเอื้อต่อการตัดสินใจและวางแผนการบริโภค การผลิต การออม และการลงทุนของภาคเอกชน และช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมทั้งการจ้างงานอย่างยั่งยืนในระยะยาว อัตราเงินเฟ้อที่อยู่จะระดับต่ำและไม่ผันผวนจะช่วยในเรื่องต่อไปนี้

รักษาอำนาจ

ซื้อของผู้บริโภคและผู้ออม

ลดความผันผวน

ของอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง (Real interest rate)

สร้างบรรยากาศที่ดี

ต่อระบบเศรษฐกิจ ช่วยลดปัจจัยลบในการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชน​

รักษาขีดความสามารถ

ในการแข่งขันด้านราคาของภาคธุรกิจท้องในและต่างประเทศ

อัตราแลกเปลี่ยนและดัชนีค่าเงินบาท
(NEER&REER)

ธปท. ได้ดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ (managed float) ตั้งแต่ กรกฎาคม 2540 ทั้งนี้ ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อที่ใช้นโยบาย อัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการ ค่าเงินบาทจะเคลื่อนไหเปลี่ยนแปลง ไปตามภาวะตลาด ซึ่งสะท้อนความต้องการและอุปทานของเงินบาทเทียบกับ เงินตราต่างประเทศ

ทั้งนี้ในการดำเนินนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวแบบมีการจัดการนั้น ธปท. จะไม่กำหนดระดับอัตราแลกเปลี่ยน ณ ค่าใดค่าหนึ่ง และจะดูแลไม่ให้อัตราแลก เปลี่ยนเคลื่อนไหวผันผวนมากเกินไป โดยเฉพาะการเคลื่อนไหวจากเงินทุนไหล เข้าเพื่อเก็งกำไร โดยการดูแลอัตราแลกเปลี่ยนต้องไม่ขัดกับนโยบายการเงิน ภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

อย่างไรก็ตาม ในบางขณะ ความต้องการระหว่างอุปสงค์และอุปทานมิได้พอดีกัน ทำให้ค่าเงินบาทแกว่งขึ้นลงตลอดเวลา โดย ธปท. มีนโยบายให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวตามภาวะตลาดภายใต้เงื่อนไขดังนี้ (1) ดูแลความผันผวน (volatility) ของค่าเงินให้อยู่ในระดับที่เศรษฐกิจรับได้ (2) รักษาความสามารถในการแข่งขันโดยพิจารณาจาก Nominal effective exchange rate (NEER) เป็นหลัก ซึ่งประกอบด้วยสกุลเงินของคู่ค้าและ คู่แข่งที่สำคัญในตลาดที่สาม ไม่ใช่เฉพาะ ดอลลาร์ สรอ. (3) ไม่ฝืนแนวโน้มที่สอดคล้องกับปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ เพราะจะนำไปสู่การสะสมความไม่สมดุล (Imbalances)

การปรับปรุงดัชนีค่าเงินบาท

ข้อมูล NEER และ REER รายเดือน

กลไกการส่งผ่าน

การดำเนินนโยบายการเงินเพื่อควบคุมอัตราเงินเฟ้อเป็นกระบวนการที่ต้องใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี นับตั้งแต่คณะกรรมการฯ ประกาศปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยจะส่งผลกระทบผ่านระบบการเงินในช่องทางต่าง ๆ 5 ช่องทาง ได้แก่ ช่องทางอัตราดอกเบี้ย (Interest rate channel) ช่องทางสินเชื่อ (Credit channel) ช่องทางราคาสินทรัพย์ (Asset price channel) ช่องทางอัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate channel) ช่องทางการคาดการณ์ (Expectations channel) โดยการส่งผ่านภายใต้ช่องทางเหล่านี้จะขยายวงกว้างไปสู่การเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายและการลงทุนในระบบเศรษฐกิจและจะส่งผลกระทบต่อปริมาณการผลิตและอัตราเงินเฟ้อในที่สุด

แบบจำลองเศรษฐกิจสำหรับนโยบาย
การเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ

การดำเนินนโยบายการเงินภายใต้กรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ให้ความสำคัญกับการวิเคราะห์และประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจในอนาคตให้ได้อย่างถูกต้องและมีความเป็นเหตุเป็นผล เพื่อให้การตัดสินใจนโยบายการเงินเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเหมาะสมต่อการดูแลเสถียรภาพเศรษฐกิจการเงิน ดังนั้น คณะกรรมการนโยบายการเงินจำเป็นต้องใช้แบบจำลองเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือในการประมาณการแนวโน้มและประเมินผลกระทบของปัจจัยแวดล้อมต่างๆ รวมทั้งนโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญต่อเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกับสาธารณชนเกี่ยวกับแนวโน้มเศรษฐกิจ มุมมองของคณะกรรมการฯ และเหตุผลของการตัดสินใจ

แบบจำลองเศรษฐกิจที่เป็นประโยชน์ต่อคณะกรรมการฯ ต้องมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยให้คณะกรรมการฯ และเจ้าหน้าที่ ธปท. ทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ในระบบ เศรษฐกิจอันเกิดจากปฏิสัมพันธ์ที่ซับซ้อนของภาคส่วนต่างๆ ได้อย่างมีเหตุผล รวมทั้งสามารถช่วยคณะกรรมการฯ ในการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจได้อย่างค่อนข้างแม่นยำ อย่างไรก็ดี แบบจำลองใดแบบจำลองหนึ่งยัง​​ไม่สามารถทำหน้าที่ทั้งหมดได้อย่างสมบูรณ์ คณะกรรมการฯ จึงเห็นประโยชน์ของการใช้แบบจำลองเศรษฐกิจหลายประเภทเพื่อเป็น เครื่องมือเสริมซึ่งกันและกันในการวิเคราะห์และพยากรณ์เศรษฐกิจประกอบการตัดสินนโยบายการเงิน รวมทั้งให้ความสำคัญกับการพัฒนาแบบจำลองในรูปแบบต่างๆ อย่างต่อ เนื่อง โดยแบบจำลองที่มีการพัฒนาอยู่ในขณะนี้มีดังนี้

แบบจำลองเศรษฐกิจมหภาค (Bank of Thailand’s Macroeconometric Model – BOTMM) เป็นแบบจำลองหลักที่คณะกรรมการฯ ใช้ในการประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจ เริ่มเผยแพร่ครั้งแรกในรายงานแนวโน้มเงินเฟ้อฉบับเดือนกรกฎาคม 2543 และมีการปรับปรุงมาเป็นระยะ แบบจำลอง BOTMM เป็นระบบสมการที่สรุปกลไกสำคัญภายในระบบเศรษฐกิจจากความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่สำคัญต่างๆ โดยใช้วิธีหาความสัมพันธ์ทางเศรษฐมิติ (Error Correction Mechanism) ระหว่างตัวแปรเหล่านี้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาวตามหลักทฤษฎีจากข้อมูลรายไตรมาสนับตั้งแต่ปี 2536 จนถึงปัจจุบัน ประกอบด้วยสมการเชิงพฤติกรรม (Behavioural Equations) 25 สมการและสมการเอกลักษณ์ (Identities) 44 สมการ ครอบคลุมภาคเศรษฐกิจสำคัญ 4 ภาค คือ ภาคเศรษฐกิจจริง ภาคการเงิน ภาคต่างประเทศ และภาครัฐบาล แบบจำลองนี้มีบทบาทสำคัญในการประมาณการเศรษฐกิจ รวมทั้งการประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยนโยบายและปัจจัยที่สำคัญต่างๆ เช่น รายจ่ายของภาครัฐ ราคาน้ำมัน และอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม แบบจำลองนี้มีข้อจำกัดในการนำมาใช้ตอบคำถามที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจ อาทิ ผลกระทบของการเปลี่ยนระบบภาษีหรือการเปลี่ยนนโยบาย (Policy Regime) ต่างๆ เพราะไม่ได้สร้างจากการทำความเข้าใจในพฤติกรรมของแต่ละหน่วยเศรษฐกิจที่อาจเปลี่ยนแปลงไปจากผลของนโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคาดการณ์ (Expectation Formation)

Role and Usefulness of Model

แบบจําลองเศรษฐกิจสําหรับนโยบายการเงินภายใต้กรอบ Inflation Targeting

Presentation

แบบจำลองเศรษฐกิจกึ่งโครงสร้างขนาดเล็ก (Small Semi-structural Model) มีพื้นฐานแนวคิดมาจากทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ในกลุ่ม New Keynesian ประกอบไป ด้วยระบบสมการเชิงพฤติกรรม (Behavioural Equations) เพียง 5 สมการที่ใช้อธิบายการเปลี่ยนแปลงในระบบเศรษฐกิจผ่านพลวัตของตัวแปรสำคัญ คือ ช่องว่าง

การผลิต (Output Gap) อัตราเงินเฟ้อ อัตราดอกเบี้ยนโยบาย อัตราแลกเปลี่ยน และดุลบัญชีเดินสะพัด และสมการเชิงพฤติกรรมสำหรับอธิบายพลวัตในระบบ เศรษฐกิจต่างประเทศอีก 4 สมการ โดยกำหนดค่า Parameters จากเทคนิค Bayesian Estimation ที่มีการผสมผสานเทคนิคทางสถิติกับความเข้าใจโครงสร้างของ ระบบเศรษฐกิจ แบบจำลองประเภทนี้มีบทบาทในการใช้ศึกษาผลกระทบของปัจจัยต่างๆ ต่อตัวแปรหลักในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งขนาดที่เล็กของแบบจำลองทำให้มีความ คล่องตัวและช่วยให้สามารถเข้าใจเหตุผลสำคัญที่สามารถนำไปใช้สื่อความได้ง่าย

Presentation

Paper

แบบจำลอง Dynamic Stochastic General Equilibrium (DSGE) มีพื้นฐานการสร้างจาก Growth and Business Cycle Theory ใน General Equilibrium Setup โดยให้ความสำคัญกับการเข้าใจถึงกระบวนการตัดสินใจบริโภคและลงทุนเพื่อให้ได้มาซึ่งอรรถประโยชน์และกำไรสูงสุดภายใต้ข้อจำกัดต่างๆ ของครัวเรือนและภาคธุรกิจ แบบจำลองนี้สามารถนำมาใช้อธิบายกลไกการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจได้ดีเนื่องจากความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างในแบบจำลองมีความสอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ ที่สำคัญคือ Parameters เชิงโครงสร้างในแบบจำลองถูกกำหนดมาเพื่อให้สะท้อนลักษณะเด่น (Salient Features) ของเศรษฐกิจไทย โดยสามารถหลีกเลี่ยงปัญหา Estimation ในกรณีที่ขาดข้อมูลระยะยาวหรือมีการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ นอกจากนี้ เนื่องจาก Parameters ดังกล่าวไม่ถูกกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของนโยบาย ทำให้แบบจำลองนี้สามารถอธิบายพลวัตของตัวแปรต่างๆ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายเศรษฐกิจ โดยเฉพาะนโยบายที่มีผลต่อการคาดการณ์ของครัวเรือนและธุรกิจได้ดีกว่าแบบจำลองประเภทอื่น

Presentation

Paper

เช่น แบบจำลองเสริม (Satellite Models) ที่จัดอยู่ในประเภท Macroeconometric Model เช่นเดียวกับ BOTMM ได้แก่ (1) แบบจำลองงบการเงินภาคธุรกิจ และ (2) แบบจำลองงบการเงินภาคครัวเรือน รวมทั้งแบบจำลองประเภท Vector Autoregressive Models (VARs) ที่ใช้ข้อมูลในช่วงเวลาก่อนหน้า (Lagged Variables) ใน การอธิบายพลวัตหรือกลไกการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลทางเศรษฐกิจในช่วงเวลาปัจจุบัน

คณะกรรมการฯ อาศัยผลของแบบจำลองแต่ละประเภทที่มีจุดเด่นแตกต่างกันประกอบกับการใช้ดุลยพินิจ (Judgment) ทำให้สามารถประเมินแนวโน้มเศรษฐกิจและ ผลกระทบทางด้านนโยบาย (Policy Analysis) ได้อย่างครอบคลุมยิ่งขึ้น และช่วยทำให้สามารถดำเนินนโยบายการเงินได้อย่างเหมาะสม

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์