ประวัติธนาคารแห่งประเทศไทย

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit, sed do eiusmod
tempor incididunt ut labore et dolore magna aliqua.

พระสยามเทวาธิราช
ตราธนาคารแห่งประเทศไทย​

ตราธนาคารแห่งประเทศไทย คือ พระสยามเทวาธิราชใน เหรียญเสี้ยว อัฐ โสฬส ที่ออกใช้ในรัชกาล​ที่ 5 มาดัดแปลง และเพิ่มถุงเงินในพระหัตถ์เบื้องขวา ซึ่งเป็นเครื่องหมายถึงผู้คุมถุงเงินของชาติ อันเป็นหน้าที่หลักของธนาคารแห่งประเทศไทย พระแสงธารพระกรในพระหัตถ์ซ้าย เพื่อคอยปัดป้องผู้ที่มารุกราน แต่ได้เปลี่ยนตอนปลายจากรูปดอกไม้มาเป็นลายดอกบัว​

จากสำนักงานธนาคารชาติสู่
ธนาคารแห่งประเทศไทย

เซอร์จอห์น เบาริง
ราชทูตอังกฤษ
ผู้ทำสนธิสัญญาเบาริงในปี
2398 นักประวัติศาสตร์ไทย
ถือว่าประเทศไทยได้ก้าว
เข้าสู่ยุดคใหม่ทางเศรษฐกิจ

สนธิสัญญาเบาริง
(Bowring Treaty)

นายปรีดี พนมยงค์
ผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรกับเพื่อน
นักเรียนไทยและเจ้าหน้าที่
เอกอัครราชฑูตสยาม

พระยาพหลพลพยุหเสนา
นายกรัฐมนตรีคนที่ 2
ของประเทศไทย

สำนักงานรับฝากเงิน ‘บุคคลัภย์’ต่อมาขยาย
กิจการเป็นรูปแบบธนาคารคือ ’บริษัท แบงก์
สยามกัมมาจลทุน จำกัด’ ปัจจุบันคือ ธนาคาร
ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

คณะรัฐมนตรีที่ประกอบไปด้วยสมาชิกสำคัญ
ในคณะราษฎร รวมถึงนายปรีดี พนมยงค์ที่ใน
ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ
กระทรวงการคลังภายใต้การนำของ
จอมพล ป. พิบูลสงคราม

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ประธานในพิธีเปิดสำนักงานธนาคารชาติไทย

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรก
(27 พ.ย. 2485 - 16 ต.ค. 2489 และ
3 ก.ย. 2491 - 2 ธ.ค. 2491)

‘วังบางขุนพรหม’ สถาปัตยกรรมอันงามสง่า
ที่ทำการอย่างเป็นทางการแห่งแรกของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย

2398

เซอร์จอห์น เบาริง ราชทูตอังกฤษ ผู้ทำสนธิสัญญาเบาริงในปี 2398 นักประวัติศาสตร์ไทย ถือว่าประเทศไทยได้ก้าว เข้าสู่ยุดคใหม่ทางเศรษฐกิจ

สนธิสัญญาเบาริง (Bowring Treaty)

ในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการเจริญสัมพันธไมตรีและติดต่อค้าขายกับต่างชาติมากขึ้น ในปี 2398 โปรดให้ทำสนธิสัญญาทางการทูตและการค้ากับประเทศอังกฤษ เรียกว่า สนธิสัญญาเบาริง ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้ลงนามในสนธิสัญญา แบบเดียวกันนี้กับอีกหลายประเทศ อันเป็นการเปิดประเทศอย่างกว้างขวางขึ้น

เมื่อชาวตะวันตกติดต่อค้าขายกับไทยมากขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 ได้มีความพยายามที่จะขอจัดตั้งธนาคารกลางขึ้นในประเทศไทยหลายครั้ง เพื่อสิทธิในการออกธนบัตรซึ่งให้ผลประโยชน์ตอบแทนที่งดงาม แต่ไม่เป็นผลสำเร็จเพราะฝ่ายไทยเห็นว่าชาวต่างประเทศเหล่านั้นคิดแต่จะเอาผลประโยชน์ฝ่ายเดียว ทำให้ประเทศไทยเห็นความสำคัญของการมีธนาคารกลางของไทย เพื่อเป็น สื่อกลางในทางการค้าและทางเศรษฐกิจ แต่โครงการก่อตั้งธนาคารกลางก็ได้หยุดชะงักไปเพราะเวลานั้นยังขาดประสบการณ์และบุคคลากรที่มีความรู้

2475-2476

นายปรีดี พนมยงค์ ผู้ร่วมก่อตั้งคณะราษฎรกับเพื่อน นักเรียนไทยและเจ้าหน้าที่ เอกอัครราชฑูตสยาม

พระยาพหลพลพยุหเสนา นายกรัฐมนตรีคนที่ 2 ของประเทศไทย

ความสนใจที่จะจัดตั้งธนาคารกลางได้มีขึ้นอีกครั้งภายหลังที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ. 2475 สืบเนื่องจากการเสนอร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของคณะราษฎรที่นายปรีดี พนมยงค์ (หลวงประดิษฐ์มนูธรรม) เป็นผู้ร่าง ได้กล่าวถึงความจำเป็นในการจัดตั้งธนาคารชาติ เพื่อเป็นกลไกหนึ่งในการดำเนินการเศรษฐกิจของประเทศ ร่างเค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี พนมยงค์ ไม่ได้รับความเห็นชอบจากนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง พระยามโนปกรณ์นิติธาดา นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นจึงประกาศปิดสภาแทนราษฎร

ภายหลังเมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนาได้เข้ายึดอำนาจการปกครองเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 จึงมีการสนับสนุนให้มีธนาคารชาติขึ้นอีก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพระคลังมหาสมบัติได้นำเรื่องเข้าหารือกับ นายเจมส์ แบกซ์เตอร์ ที่ปรึกษาการคลังในขณะนั้น ซึ่งให้ความเห็นว่า ยังไม่สมควรแก่เวลาที่จะจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น เนื่องจากประเทศไทยยังไม่มีผู้รู้ผู้ชำนาญทางด้านการธนาคาร ไม่มีทุน และยังไม่มีระบบธนาคารพาณิชย์ของคนไทยด้วย

2478

สำนักงานรับฝากเงิน ‘บุคคลัภย์’ต่อมาขยาย กิจการเป็นรูปแบบธนาคารคือ ’บริษัท แบงก์ สยามกัมมาจลทุน จำกัด’ ปัจจุบันคือ ธนาคาร ไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)

รัฐบาลได้ผลักดันเรื่องการตั้งธนาคารกลางอีกครั้งหนึ่งในปี 2478 โดย คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้กระทรวงการคลังพิจารณาร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการจัดตั้งธนาคารชาติ พ.ศ. 2478 ซึ่งหลวงวรนิติปรีชาเป็นผู้ร่างขึ้น เสนอให้ควบรวมบริษัทแบ๊งค์สยามกัมาจล ทุนจำกัด ให้เป็นธนาคารชาติ พระราชบัญญัติดังกล่าวมีเพียง 8 มาตรา ซึ่งอธิบดีกรมบัญชีกลางในเวลานั้นพิจารณาแล้ว เห็นว่าพระราชบัญญัตินี้ยังขาดความรอบคอบและรายละเอียดยังไม่ชัดเจน

2481

คณะรัฐมนตรีที่ประกอบไปด้วยสมาชิกสำคัญ ในคณะราษฎร รวมถึงนายปรีดี พนมยงค์ที่ใน ขณะนั้นดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลังภายใต้การนำของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

ต่อมาเมื่อ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2481 พลตรีหลวงพิบูลสงครามได้รับการแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี และได้แต่งตั้งนายปรีดี พนมยงค์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เมื่อได้รับตำแหน่งแล้ว นายปรีดี พนมยงค์ ได้รื้อฟื้นเรื่อง การจัดตั้งธนาคารชาติขึ้น ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย อธิบดีกรมศุลกากรย้ายมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาของกระทรวงการคลัง ซึ่งแต่เดิมจะใช้ ที่ปรึกษาชาวต่างชาติทั้งสิ้น ในครั้งนี้ นายปรีดี พนมยงค์ ได้พยายามทำ ความเข้าใจกับที่ปรึกษาฝ่ายต่างประเทศของกระทรวงการคลัง ให้เข้าใจถึง ความจำเป็นและเจตนารมณ์ของทางการ ซึ่งในที่สุดก็ได้รับความร่วมมืออย่างดีในการช่วยร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติไทยขึ้น นับเป็นก้าวแรกที่นำไปสู่ การตั้งธนาคารกลางของประเทศไทยในที่สุด

2482

หลวงประดิษฐ์มนูธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประธานในพิธีเปิดสำนักงานธนาคารชาติไทย

ในการดำเนินการจัดตั้งธนาคารชาติไทยนั้น นายปรีดี พนมยงค์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงการคลัง ได้มอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ที่ปรึกษา กระทรวงการคลังฝ่ายไทยรับผิดชอบในการร่างกฎหมายจัดตั้งธนาคารชาติต่อ จากที่ปรึกษาต่างประเทศที่ได้ดำเนินการไว้แล้ว ในที่สุดก็ได้มีการนำเสนอ ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยการเตรียมการจัดตั้งธนาคารชาติไทยต่อนายกรัฐมนตรี เมื่อคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแล้ว ให้เปลี่ยนชื่อพระราชบัญญัติเป็น ร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทย เมื่อผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้วได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2482 วัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการจัดตั้งสำนักงานธนาคารชาติไทยก็เพื่อเตรียมพนักงานสำหรับการทำงานในธุรกิจธนาคารกลาง และทำหน้าที่บริหารเงินกู้ของรัฐบาล

2483-2485

พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนแรก (27 พ.ย. 2485 - 16 ต.ค. 2489 และ 3 ก.ย. 2491 - 2 ธ.ค. 2491)

สำนักงานธนาคารชาติไทยได้เริ่มปฏิบัติงานเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2483 ต่อมาในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483 ซึ่งเป็นวันชาติในสมัยนั้น จึงได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ สำนักงานธนาคารชาติไทยดำเนินงานได้เพียงปีเศษก็เกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา ญี่ปุ่นนำกำลังทหารเข้ามายังประเทศไทยในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และได้เสนอให้รัฐบาลไทยจัดตั้งธนาคารกลางขึ้น โดยมีที่ปรึกษาและหัวหน้างานต่าง ๆ เป็นชาวญี่ปุ่น ซึ่งรัฐบาลไทยไม่อาจยอมให้เป็น เช่นนั้นได้ จึงมอบให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชยดำเนินการร่างกฎหมายเพื่อเปลี่ยนฐานะของสำนักงานธนาคารชาติไทยให้เป็นธนาคารกลาง และให้ประกาศใช้โดยเร็วที่สุด พระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย จึงได้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2485 ต่อมาได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 ซึ่งเป็นวันรัฐธรรมนูญและในวันต่อมา

2550

‘วังบางขุนพรหม’ สถาปัตยกรรมอันงามสง่า ที่ทำการอย่างเป็นทางการแห่งแรกของ ธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มดำเนินการ ณ อาคารที่ทำการเดิมของ ธนาคารฮ่องกงและเซี่ยงไฮ้ จำกัด ถนนสี่พระยา พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิวัฒนไชย ทรงดำรงตำแหน่งผู้ว่าการพระองค์แรก ต่อมาได้ย้ายที่ทำการมาอยู่ ณ วังบางขุนพรหมตั้งแต่วันที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2488 แล้วย้ายมาอาคารสำนักงานใหญ่ที่สร้างขึ้นในบริเวณวังบางขุนพรหมเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2525 และในปี 2550 สำนักงานใหญ่ได้ย้ายมาอยู่ ณ อาคารสำนักงานใหญ่หลังใหม่ ที่ก่อสร้างขึ้นในบริเวณเชื่อมต่อระหว่างวังบางขุนพรหมกับวังเทวะเวสม์

พิธีเปิดสำนักงานตัวแทนธนาคาร
แห่งประเทศไทย ณ กรุงปักกิ่ง
สาธารณรัฐประชาชนจีน

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดาเนินเป็นประธานในพิธีเปิดสำนักงานตัวแทน ธปท. ณ กรุงปักกิ่ง

อ่านต่อ

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จ พระราชดำเนินเป็นประธานในพิธี เปิดอาคาร 2

พิธีเปิดอาคาร 2 ธนาคารแห่งประทศไทย

อ่านต่อ

72 ปี
ธนาคารแห่งประเทศไทย

เหตุการณ์เชิงประวัติศาสตร์และภาพพัฒนาการ
ของบทบาทและหน้าที่ของ ธปท.
ที่มีต่อเศรษฐกิจการเงินไทย ตลอด 72 ปี

อ่านต่อ

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์