1. ทำความรู้จักกับรายจ่าย

ก่อนจะหาว่าเงินหายไปไหน เราต้องทำความรู้จักกับรายจ่ายก่อน รายจ่ายของเราแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ

1.1 รายจ่ายจำเป็น เป็นรายจ่ายที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิต ถ้าไม่จ่ายอาจกระทบถึงสุขภาพหรือคุณภาพชีวิต เช่น อาหาร ยารักษาโรค รายจ่ายประเภทนี้ตัดไม่ได้แต่ลดได้ เช่น แทนที่จะกินอาหารมื้อหรู ก็เลือกกินอาหารราคาธรรมดาที่มีสารอาหารครบ

1.2 รายจ่ายไม่จำเป็น เป็นรายจ่ายที่ไม่กระทบต่อการดำรงชีวิตหากไม่จ่าย แต่อาจทำให้มีความสุขน้อยลงบ้าง รายจ่ายประเภทนี้สามารถตัดหรือลดได้ เช่น ลดค่ากาแฟ เลิกเหล้า เลิกบุหรี่ เลิกซื้อหวย

แต่ความจำเป็นของคนเราแตกต่างกัน เราไม่อาจตัดสินแทนใครได้ว่า สิ่งไหนจำเป็น สิ่งไหนไม่จำเป็น เพราะรายจ่ายบางรายการ อาจจำเป็นสำหรับคนหนึ่ง แต่อาจไม่จำเป็นสำหรับคนอีกคน

ตัวอย่างเช่น รถยนต์อาจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับคนที่มีอาชีพขับรถแท็กซี่ หรือตัวแทนขายสินค้า แต่อาจไม่จำเป็นต่อคนที่ทำงานในบริษัทใกล้บ้าน หรือเครื่องสำอางอาจเป็นรายจ่ายจำเป็นสำหรับผู้ชายและผู้หญิงหลายคน แต่ก็อาจเป็นของไม่จำเป็นสำหรับคนอีกหลายคน

2. ตามหาเงินที่หายไป

เมื่อรู้จักประเภทของรายจ่ายแล้ว เราก็มาตามหาเงินที่หายไปกัน โดยการกรอกรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของคุณในตารางคำนวณเงินหาย

ดาวน์โหลดตารางคำนวณเงินหาย

กรอกรายละเอียดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นของคุณเพื่อคำนวณเงินหาย

รายการ
ประเภทรายจ่าย
ราคา
x
ความถี่ในการซื้อ
=
จำนวนเงินที่หายไป
1

x

=

2

x

=

3

x

=

4

x

=

1 / 4

รวมจำนวนเงินที่หายไป

27,500 บาท
Lorem ipsum dolor sit amet consectetur adipisicing elit. Alias minus, facilis odio sed animi consequatur aut corrupti possimus iusto similique quos quisquam fugiat provident quae tempora laudantium incidunt cupiditate repellendus aliquid hic cumque accusantium! Tempora tenetur porro repellendus architecto fugiat est neque obcaecati minus facilis tempore ipsum, molestiae ipsam commodi.
ตัวเลขจำนวนครั้งที่ซื้อของชิ้นนั้นใน 1 ปี เพื่อเพิ่มความง่ายต่อการคำนวณจำนวนเงินที่หายไปต่อปี
ความถี่ในการซื้อ ตัวเลขต่อปี
ทุกวัน 365
ทุวันที่มาทำงาน 260
ทุกสัปดาห์ 52
เดือนละ 2 ครั้ง 24
ทุกเดือน 12

3. ตัดใจจากรายจ่ายไม่จำเป็น

ถ้าเรามีเงินพอ เก็บออมทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องตัดรายจ่ายไม่จำเป็นเหล่านี้ แต่เมื่อไหร่ที่เราเริ่มมีเงินไม่พอใช้ หรืออยากมีเงินไว้ใช้ทำอย่างอื่น ก็คงต้องลองตัดใจจากรายจ่ายไม่จำเป็น แต่จะมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของแต่ละคน แต่ถ้าเรายังทำใจตัดไม่ได้ ก็อาจลดจำนวนครั้งในการซื้อ หรือซื้อของที่มีประโยชน์คล้ายกันแต่ในราคาที่ถูกลง เช่น กาแฟ จากเดิมที่ซื้อแบบแพงทุกวันที่ไปทำงาน อาจเปลี่ยนเป็นซื้อแบบแพง 2 วันแล้วซื้อแบบที่ราคาถูกลงมาหน่อยอีก 3 วัน

คะแนนรวมบทความนี้ 4.8 / 5

ให้คะแนนบทความนี้

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์