3. กระบวนการกำกับดูแลระบบการชำระเงินของ ธปท.

3.1 การรวบรวมข้อมูลและติดตามการดำเนินงาน (Continuous off-site monitoring)

3.2 การประเมินความเสี่ยง (Risk assessment)

3.3 การตรวจสอบการดำเนินงาน (On-site examination)

3.4 การรายงานผลการกำกับดูแลต่อคณะกรรมการ (Reporting to comittee)

3.5 การปรับปรุงแก้ไข (Improvement)

การกำกับดูแลตาม พ.ร.บ. ระบบการชำระเงิน
ประกาศที่เกี่ยวข้อง

กรอบการกำกับดูแลระบบการชำระเงินในประเทศไทย (Oversight Framework of Payment Systems in Thailand)

ความร่วมมือในการกำกับดูแลระบบการชำระเงิน (Co-operative Oversight)

ธปท. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลระบบการชำระเงิน มีการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานกำกับดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินอื่น ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ด้านการกำกับดูแลระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เชื่อมโยงกัน ให้มีความมั่นคงปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการความเสี่ยงอย่างเพียงพอ และรวมถึงป้องกันความเสี่ยงในลักษณะลูกโซ่ (Systemic risk) ของทั้งระบบได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับมาตรฐานสากล PFMI ตามหลักการด้านหน้าที่ความรับผิดชอบของธนาคารกลางหรือหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแล (Responsibility E: Cooperation with other authorities) โดยมีการกำหนดขอบเขตความร่วมมือในการกำกับดูแลให้ครอบคลุมถึงเรื่องการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาระบบ โครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เชื่อมโยงกัน การดูแลความเสี่ยงที่สำคัญ และการจัดการกรณีที่ระบบเกิดปัญหาหรือขัดข้อง ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่เชื่อมโยงกัน

1. หน่วยงานกำกับดูแลในประเทศ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ซึ่งทำหน้าที่กำกับดูแลระบบศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (Central Securities Depositories: CSD) ระบบการชำระราคาและส่งมอบหลักทรัพย์ (Securities Settlement Systems: SSS) และระบบสำนักหักบัญชีกลางสำหรับธุรกรรมการซื้อขายหลักทรัพย์ (Central Counterparties: CCP)

2. หน่วยงานกำกับดูแลในต่างประเทศ ได้แก่ Hong Kong Monetary Authority (HKMA) ซึ่งกำกับดูแลระบบ US Dollar Clearing House Automated Transfer System (USD CHATS) โดยมีการเชื่อมโยงกับระบบบาทเนต (cross-border links) ในลักษณะการชำระดุลแบบข้ามพรมแดนในเวลาเดียวกันด้วยกลไก Payment-versus-Payment (PvP) เพื่อช่วยลดความ เสี่ยงของการชำระดุลธุรกรรมซื้อขายเงินบาทและเงินดอลลาร์สหรัฐ

คุณคิดว่าบทความหน้านี้
มีประโยชน์กับคุณหรือไม่

1
2
3
4
5

ไม่มีประโยชน์เลย มีประโยชน์มาก

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์