ระบบการเงิน
ที่มีสุขภาพดี

Lorem ipsum dolor sit amet, consect etuer adipiscing elit. Maecenas porttitor

  • ให้บริการทางการเงินได้อย่างราบรื่น
  • ทนทานต่อแรงกดดันที่ไม่คาดฝัน

ความแตกต่างของเสถียรภาพในส่วนต่าง ๆ

การดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน เสถียรภาพการเงิน และ เสถียรภาพสถาบันการเงินล้วนเป็นพันธกิจของธปท. ซึ่งเสถียรภาพทั้งสามมีความเชื่อมโยงกัน

ดูแแลเสถียรภาพของ
สถาบันการเงินแต่ละแห่ง
เพื่อลดโอกาสที่ สง. แห่ง
หนึ่งๆ จะประสบปัญหา

ดูแลเสถียรภาพ
เศรษฐกิจมหภาคโดยเน้น
ที่การรักษาเสถียรภาพ
ด้านราคา

ดูแลเสถียรภาพของทั้ง
ระบบการเงินเพื่อไม่ให้
ความเปราะบางในจุดหนึ่ง
สร้างปัญหาให้ทั้งระบบ
(System Risk)

เสถียรภาพการเงิน

คือการดูแลเศรษฐกิจระดับมหภาคของประเทศ โดยการรักษาอัตราเงินเฟ้อไม่ให้ผันผวนมาก และอยู่ในกรอบเป้าหมาย เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยการดำเนินนโยบายการเงินและนโยบายบริหารจัดการอัตราแลกเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสภาวะทางเศรษฐกิจ

เสถียรภาพสถาบันการเงิน

คือการดูแลเสถียรภาพของสถาบันการเงินแต่ละแห่ง ไม่ให้ประสบปัญหาที่อาจลามไปสู่ระบบเศรษฐกิจ

เสถียรภาพระบบการเงิน

คือการดูแลระบบการเงินทั้งระบบไม่ให้เกิดความเปราะบางในบางจุด ซึ่งอาจลามไปสู่ปัญหาทั้งระบบ (systemic risk) จึงจำเป็นต้องพิจารณาความเชื่อมโยงในหลายมิติทั้งความเชื่อมโยงระหว่างสถาบันการเงินกันเอง และความเชื่อมโยงกับตลาดการเงิน ธุรกิจการเงินอื่นที่มิใช่สถาบันการเงิน (Non-banks) และธุรกิจประกัน และความเสี่ยงจากการก่อตัวของฟองสบู่ ความเสี่ยงด้านระบบการชำระเงิน และความเสี่ยงจากผลิตภัณฑ์ทางการเงิน

ทำไมจึงต้องดูแลเสถียรภาพระบบการเงิน?

มีเหตุผลหลายประการ แต่ทุกเหตุผลมีจุดมุ่งหมายเพื่อทำให้คุณภาพชีวิตของ
ประชาชนไทยดีขึ้น

1. ลดโอกาสที่จะเกิดวิกฤติทาง
เศรษฐกิจอย่างรุนแรง

การดูแลระบบการเงินให้มีเสถียรภาพ สามารถลดโอกาสที่จะเกิดวิกฤตการเงิน (Financial Crisis) ที่จะมีผลลบอย่างมากต่อเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตของประชาชน

ในทางกลับกัน หากระบบการเงินมีความเปราะบาง แม้เพียงจุดเล็กจุดเดียว ก็สามารถลุกลามไปสู่ปัญหาเชิงระบบ (systemic risk) ได้ เช่น เมื่อเกิดฟองสบู่ขนาดใหญ่ในภาคอสังหาริมทรัพย์ทำให้ราคาที่อยู่อาศัยเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว หากฟองสบู่ที่แตก ผลกระทบจากจะไม่ได้อยู่ในภาอสังหาริมทรัพย์เพียงอย่างเดียว แต่อาจลุกลามไปยังภาคการเงิน ตลอดจนภาคธุรกิจเกี่ยวเนื่อง จนทำให้เกิดวิกฤติเศรษฐกิจในที่สุดและส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็นวงกว้าง

Global Financial Instability

วิกฤตการเงินที่มาจาก Financial Instability

ความไม่มีเสถียรภาพของระบบการเงิน "นำไปสู่วิกฤตการเงิน" และวิกฤตเศรษฐกิจในหลายประเทศ

2538

Banking Crisis

อาร์เจนตินา คาเมรูน
แอฟริกากลาง ปารากวัย
แชมเบีย

เสียหายเฉลี่ย

13%

ของ GDP

2540

Banking + Currency Crisis

ไทย เกาหลีใต้ มาเลเซีย
ฟิลิปปินส์

เสียหายเฉลี่ย

49%

ของ GDP

2541

Triple Crisis:

รัสเซีย เอควาดอร์ ยูเครน
จีน (8) โคลัมเบีย (8)

เสียหายเฉลี่ย

22%

ของ GDP

(ไม่รวม Russia)

2543

Banking + Currency Crisis

ตุรกี นิคารากัว (8)

เสียหายเฉลี่ย

17.5%

ของ GDP

2544 - 2545

Triple Crisis:

อาร์เจนตินา อุรุกวัย

เสียหายเฉลี่ย

49%

ของ GDP

2551

Banking + Currency Crisis

ออสเตรีย เบลเยี่ยม ฝรั่งเศส
เดนมาร์ก เยอรมัน กรีซ ฮังการี
ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส สเปน
UK US

เสียหายเฉลี่ย

35%

ของ GDP

2. ช่วยให้เศรษฐกิจสามารถเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

ท่ามกลางสภาพแวดล้อมแบบ VUCA ในปัจจุบันที่มีความผันผวน ไม่แน่นอน ซับซ้อน และไม่ชัดเจน (Volatility, Uncertainty, Complexity, Ambiguity) เช่น โรคติดต่อ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของคนทั่วโลก ราคาน้ำมันที่ผันผวนสูง และการลงทุนในสินทรัพย์รูปแบบใหม่ ๆ ประกอบกับระบบการเงินโลกที่มีความเชื่อมโยงและซับซ้อนมากขึ้น ทำให้การคาดการณ์แรงกดดันต่าง ๆ ที่จะเข้ามากระทบระบบการเงินทำได้ยาก ดังนั้น การรักษาเสถียรภาพระบบการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญในการสนับสนุนเศรษฐกิจให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

การดูแลเสถียรภาพระบบการเงินทวีความสำคัญขึ้นในระยะต่อไป

DEMAND SIDE

Cycical Factor ได้แก่ หนี้ครัวเรือน, Policy space ที่จำกัดลง, ฐานะการคลัง, อัตราดอกเบี้ยต่ำต่อเนื่องเป็นเวลานาน

Structural Factor ได้แก่ สังคมผู้สูงอายุ, เศรษฐกิจขยายตัวต่ำยาวนาน, ความผันผวนที่สูงขึ้น, ความเชื่อมโยงตลาดเงินตลาดทุนโลกเพิ่มขึ้น

Cyclical Factor & Structural Factor
เชื่อมโยงและซับซ้อนขึ้น

SUPPLY SIDE

Cyclical Factor ได้แก่
ราคาน้ำมัน, ราคาสินค้าเกษตร, ภัยแล้ง

Structural Factor ได้แก่
ภาวะโลกร้อน, โครงสร้างการส่งออก, เศรษฐกิจจีน, มาตรฐานใหม่ๆ (ICAO, IUU, TPP), สังคมผู้สูงอายุ, Brexit

Cyclical Factor & Structural Factor
ผันผวนมากขึ้น

FINANCIAL LANDSCAPE

ปัจจัยที่ส่งต่อ Landscape และ Behavior ของผู้ให้บริการทางการเงิน ได้แก่ การแข่งขันจาก New Player (ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ และ FinTech), New Payment Landscape, Digital Banking/IT, เกณฑ์ การกำกับดูแลใหม่, การกำกับดูแลโดยหลายหน่วยงาน, Shadow Banking, ความเชื่อมโยงระหว่างตลาดเงิน ตลาดทุน และผลิตภัณฑ์ทางการเงินประเภทต่าง ๆ เพิ่มสูงขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Landscape และ Behavior
ของผู้ให้บริการทางการเงิน

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์