สรุปสาระสำคัญ
  • คณะกรรมการฯ มีมติเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 0.50 ต่อปี
  • เศรษฐกิจไทยขยายตัวชะลอจากเดิม การเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะข้างหน้ายังมีความไม่แน่นอนสูง
  • ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐ มีความสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
  • เศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำกว่าประมาณการเดิม และการฟื้นฟูยังแตกต่างกันในภาคเศรษฐกิจ
  • กิจกรรมเศรษฐกิจในเดือนมีนาคม 2564 ปรับดีขึ้นต่อเนื่องจากเดือนก่อนในทุกภูมิภาค
  • เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือมาตรการฟื้นฟู เพื่อกระจายสภาพคล่องลดภาระหนี้

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดของ COVID-19

คณะกรรมการฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดของ COVID-19 ระลอกที่ 3 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้จ่ายในประเทศและแนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ เห็นว่าโจทย์สำคัญที่สุดของเศรษฐกิจไทย ณ ปัจจุบันคือการจัดหาและการกระจายวัคซีนให้เพียงพอและทันการณ์ ในส่วนของด้านการเงิน มาตรการที่สำคัญคือการกระจายสภาพคล่องไปยังธุรกิจและครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบเพิ่มเติมจากการระบาดระลอกใหม่ โดยเฉพาะมาตรการสินเชื่อและการเร่งปรับปรุงโครงสร้างหนี้จะช่วยลดภาระทางการเงินได้อย่างตรงจุดมากกว่าการปรับลดอัตราดอกเบี้ยที่ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำและยังสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในการประชุมครั้งนี้ และรักษาขีดความสามารถในการดำเนินนโยบายการเงินที่มีจำกัดเพื่อใช้ในจังหวะที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

แนวโน้มเศรษฐกิจ
หลังมีการระบาด
รอบที่ 3

เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวได้ช้าลงมากจากการแพร่ระบาดระลอกที่ 3 ของ Covid-19 โดยการฟื้นตัวระยะข้างหน้าขึ้นอยู่กับการจัดหาและกระจายวัคซีนเป็นสำคัญ

ยังคงมีปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ต้องติดตามในระยะข้างหน้าอีก ได้แก่ สถานการณ์ความรุนแรงและความยืดเยื้อของการระบาดระลอกที่ 3 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเพิ่มเติม และการจัดหาและกระจายวัคซีนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Semtiment การใช้จ่ายภายในประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

อย่างไรก็ตามการฟื้นตัวของ
เศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าเผชิญ
กับความไม่แน่นอนสูงขึ้นอยู่กับการกลับมาของนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นสำคัญ

— คาดการณ์โดย ธนาคาแห่งประเทศไทย —

ภายใต้สถานการณ์ที่มีความไม่แน่นอนสูง และมีปัจจัยอีกมากที่ส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว คณะกรรมการฯ จะติดตาม การฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติอย่างใกล้ชิด เนื่องจากส่งผลกระทบอย่างมีนัยส าคัญต่อแนวโน้มการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย โดยจะ ประเมินความคืบหน้าการกระจายวัคซีนทั้งในต่างประเทศและในไทย การกลายพันธุ์ของไวรัสและประสิทธิภาพของวัคซีนสถานการณ์การระบาด ในต่างประเทศและในไทย รวมถึงความคืบหน้าของการเปิดประเทศเพื่อรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ เพื่อทบทวนการวิเคราะห์ฉากทัศน์เป็นระยะ

ผลที่ได้จากการ
ฉีดวัคซีน

  • สถานการณ์ความรุนแรงและความยืดเยื้อของ การระบาดระลอกที่ 3
  • มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐเพิ่มเติม
  • การจัดหาและกระจายวัคซีนซึ่งจะส่งผลกระทบต่อ Semtiment การใช้จ่ายภายในประเทศและการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ

การประมาณการแนวโน้มเศรษฐกิจปี 2564 และ 2565

เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงมากจากการระบาดระลอกที่ 3 ซึ่งกระทบการใช้จ่ายในประเทศและแนวโน้มการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยว ต่างชาติ จากการเปิดประเทศที่ช้ากว่าคาดและนโยบายจำกัดการเดินทางระหว่างประเทศที่ยังมีความไม่แน่นอน สำหรับแรงขับเคลื่อนหลักของ เศรษฐกิจไทยมาจากการส่งออกสินค้าที่ฟื้นตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า แต่ผลดีต่อการจ้างงานในตลาดแรงงานโดยรวมยังมีจำกัด ขณะที่ มาตรการเยียวยาและมาตรการการเงินเพิ่มเติมของภาครัฐจะมีส่วนสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะสั้น แต่แรงกระตุ้นภาครัฐในปีงบ ประมาณ 2565 อาจลดลงบ้างจากการเร่งเบิกจ่าย พ.ร.ก. กู้เงินในปีงบประมาณปัจจุบัน

สำหรับอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะเร่งขึ้นชั่วคราวในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 จากฐานราคาน้ำมันดิบที่อยู่ในระดับต่ำในไตรมาสเดียวกันของปีก่อนหน้า ด้านการคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในระยะปานกลางยังยึดเหนี่ยวอยู่ในกรอบเป้าหมาย

เสถียรภาพเศรษฐกิจการเงินไทยในปัจจุบัน

สภาพคล่องโดยรวมอยู่ในระดับสูงและต้นทุนทางการเงินอยู่ในระดับต่ำ แต่การกระจายตัวยังไม่ทั่วถึงจากความเสี่ยงด้านเครดิตที่เพิ่มขึ้น จึงต้องติดตามให้การขยายตัวของสินเชื่อทั่วถึงมากขึ้นหลังมาตรการสินเชื่อฟื้นฟูมีผลบังคับใช้ ด้านอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวของไทยทยอยปรับลดลงจากช่วงก่อนหน้า สำหรับอัตราแลกเปลี่ยน เงินบาทเทียบกับดอลลาร์ สรอ. เคลื่อนไหวอ่อนค่ากว่าเงินสกุลภูมิภาค คณะกรรมการฯ เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด และผลักดันการสร้างระบบนิเวศใหม่ของตลาดอัตราแลกเปลี่ยน (FX ecosystem) อย่างต่อเนื่อง

บทวิเคราะห์และความคิดเห็นต่อมาตรการภาครัฐในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ

คณะกรรมการฯ เห็นว่า ความต่อเนื่องของมาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจากการระบาด ระลอกใหม่ โดยควรเร่งมาตรการจัดหาและกระจายวัคซีนเพื่อควบคุมไม่ให้การระบาดยืดเยื้อ มาตรการการคลังควรรักษาความต่อเนื่องของแรง กระตุ้นทางการคลังและลดผลกระทบของการระบาด รวมทั้งสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป นโยบายการเงินต้องผ่อนคลายต่อเนื่อง มาตรการให้ความช่วยเหลือเพื่อฟื้นฟูผู้ประกอบธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID-19 ที่ออกมาเพิ่มเติมควรเร่งกระจาย สภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบให้ตรงจุด ลดภาระหนี้ และสนับสนุนการฟื้นฟูเศรษฐกิจ ควบคู่กับการผลักดันให้สถาบันการเงินเร่งปรับปรุง โครงสร้างหนี้ให้ลูกหนี้ โดย ธปท. จะติดตามความคืบหน้าและประเมินประสิทธิผลของมาตรการด้านการเงินและสินเชื่ออย่างใกล้ชิด

คาดการณ์ปริมาณการฉีดวัคซีนและช่วงเวลาที่เกิดภูมิคุ้มกันหมู่
(Herd Immunity)

การฉีดวัคซีนเร็วขึ้นจะสามารถช่วยขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ถึง 3.0-5.7% ในช่วงปี 2564-2565

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคา ควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการฯ ยังคงให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ จะติดตามปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานการณ์การระบาดระลอกใหม่ การกระจายและประสิทธิผลของวัคซีน ความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อที่ออกมาแล้ว โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสม เพิ่มเติมหากจำเป็น

สำหรับสถานการณ์ในตลาดแรงงานมีความเสี่ยงที่จะถูกซ้ำเติมจากการระบาดละลอกใหม่ โดยแรงงานบางกลุ่มอาจจะว่างงานนานขึ้น หรือ บางกลุ่มตัดสินใจออกนอกกำลังแรงงาน เนื่องจากหางานทำไม่ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้แรงงานบางส่วนเสี่ยงที่จะสูญเสียทักษะ และอาจจะ ก่อให้เกิด scarring effects ที่ มีผลกระทบต่อการเติบโตบของเศรษฐกิจในระยะยาว

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ครั้งต่อไป : 24 สิงหาคม 2564

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ส่วนกลยุทธ์นโยบายการเงิน

0 2283 6186, 0 2356 7872

[email protected]

TAG ที่เกี่ยวข้อง

แถลงข่าว ผลการประชุม กนง. นโยบายการเงิน อัตราดอกเบี้ย Covid-19

เอกสารประกอบการประชุมทั้งหมด

ดาวน์โหลด Zip File ดู VDO

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์