เปิดรับฟังความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาสกุลเงินดิจิทัลที่
ออกโดยธนาคารกลางสำหรับการใช้งานในภาคประชาชน
(Retail Central Bank Digital Currency: Retail CBDC)

เปิดรับฟังความคิดเห็น
เหลือ
เวลาอีก
27วัน
ขณะนี้มีผู้ร่วม
แสดงความคิดเห็น
314 คน

* ธปท.จะเก็บรักษาความลับและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อ วัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเท่านั้น ทุกความคิดเห็นที่มีต่อร่างประกาศจะไม่มีผลทางกฎหมาย *

สรุปสาระสำคัญ
  • เนื่องจาก Private Digital Currency อาจมีแนวโน้มถูกใช้อย่างแพร่หลาย จนอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้ใช้งาน รวมถึงผลกระทบเชิงระบบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ระบบการเงิน ตลอดจความมั่นคงและความปลอดภัยของระบบการชำระเงิน
  • การออก Retail CBDC สามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศไทยในหลายด้าน ทั้งช่วยให้ประชาชนเข้าถึงเงินในรูปแบบ ดิจิทัลที่มีความน่าเชื่อถือ และปลอดภัยสูง รวมถึงช่วยพัฒนาปรับโครงสร้างพื้นฐานในการชำระเงินในรูปแบบดิจิทัล
  • การออก Retail CBDC อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เช่น ผลกระทบต่อบทบาทของธนาคารพาณิชย์ ความ เปราะบางของระบบการเงิน ความเชื่อมั่นและระบบความปลอดภัยของ Retail CBDC

ช่วงเวลาในการเปิดรับฟังความคิดเห็น

2 เมษายน 2564 - 15 มิถุนายน 2564

วัตถุประสงค์/หลักการ/เหตุผล

การพัฒนา Retail CBDC มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อช่วยให้ประชาชนเข้าถึงบริการทางการเงิน รวมถึงสามารถใช้บริการทางการเงินได้สะดวกและปลอดภัยขึ้น นอกจากนี้ การพัฒนา Retail CBDC ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับบริบทที่เทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทในภาคการเงินเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในระบบการเงิน รวมถึงช่วยส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินที่จะทำให้เกิดบริการทางการเงินที่หลากหลายในอนาคต

รายละเอียดเนื้อหา

การพัฒนา Retail CBDC ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเงินที่จะเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์ของภาคการเงินไทยในอนาคต ซึ่งอาจทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนบทบาทของภาคส่วนต่าง ๆ ในวงกว้าง ด้วยเหตุนี้การพัฒนาและการออกใช้ Retail CBDC จึงจำเป็นต้องรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป รวมถึงหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชน ดังนั้น ธปท. จึงเผยแพร่หลักคิดและแนวทางการพัฒนา Retail CDBC ในรายงาน “The Way Forward for Retail Central Bank Digital Currency in Thailand” เพื่อสร้างความเข้าใจและรับฟังความเห็นจากสาธารณชนผ่านลิงก์หรือส่งมาที่ email ด้านล่าง ภายในวันที่ 15 มิถุนายน 2564 โดย ธปท. จะนำความเห็นที่ได้รับมาร่วมกำหนดแนวทางการพัฒนา Retail CBDC ต่อไป

จากการที่ภาคเอกชนหลายแห่งทั่วโลกมีการออกสกุลเงินดิจิทัลของตนเอง (Private Digital Currency) เพื่อให้บริการชำระเงินที่รวดเร็วขึ้น และด้วยต้นทุนที่ลดลง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันPrivate Digital Currency อาจยังไม่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมในการเป็นสื่อกลางการชำระเงิน ดัง นั้น หากประชาชนนำสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวมาใช้อย่างแพร่หลาย อาจก่อให้เกิดผลกระทบและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะความเสี่ยงต่อ ผู้ใช้รวมถึงผลกระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน ระบบการเงินและระบบการช าระเงิน ธปท. จำเป็นต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการ เปลี่ยนแปลงของภูมิทัศน์ทางการเงิน (Financial landscape) สู่โลกอนาคตที่สกุลเงินดิจิทัลจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ทั้งนี้ การพัฒนาสกุล เงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับภาคประชาชน (Retail CBDC) จะเป็นสื่อกลางการชำระเงินทางเลือกหนึ่งที่สามารถใช้ควบคู่กับเงินสด และช่องทางการชำระเงินอื่น ๆ และสร้างความมั่นใจและความปลอดภัยให้แก่ประชาชน อีกทั้ง ธปท. สามารถทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพของระบบ การเงินได้ภายใต้ภูมิทัศน์ทางการเงินที่เปลี่ยนแปลงไป โดยที่ผ่านมาทาง ธปท. ได้ศึกษาผลกระทบเชิงนโยบายจากการออกใช้ Retail CBDC พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องในเบื้องต้น รวมถึงได้ทดสอบระบบต้นแบบร่วมกับภาคเอกชน โดยมีข้อสรุป ดังนี้

ประโยชน์ในการออก
Retail CBDC

  • ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเงินบาทในรูปแบบดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางซึ่งมีความเชื่อมั่นและความปลอดภัยสูง
  • เป็นโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินดิจิทัลที่เข้าถึงง่ายและสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรมทางการเงินในยุคดิจิทัล

อย่างไรก็ตามการออก Retail
CBDC อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง

  • 1 ความท้าทายในการสร้างและดูแลระบบ Retail CBDC ให้มีความปลอดภัยสูงและสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับภาคประชาชนได้โดยความเสี่ยงดังกล่าวสามารถจำกัดได้โดยการออกแบบลักษณะ CBDC หรือใช้มาตรการอื่น ๆ
  • 2 ความเปราะบางของระบบการเงินที่อาจเพิ่มขึ้น จากการไถ่ถอนเงินที่ทำได้อย่างรวดเร็วขึ้นใน ยามวิกฤติการเงิน
  • 3 ผลกระทบต่อบทบาทของธนาคารพาณิชย์ใน การทำหน้าที่เป็นตัวกลางทางการเงิน

ถาม - ตอบข้อสงสัย

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมงานสกุลเงินดิจิทัล ฝ่ายตลาดการเงิน สายตลาดการเงิน

+66 2356 7235

[email protected]

TAG ที่เกี่ยวข้อง

การเปิดรับฟังความคิดเห็น สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC

สถานะดำเนินการ

เริ่มต้นโครงการพัฒนา CBDC ของประเทศไทย

สิงหาคม 2561

ดำเนินการเสร็จสิ้น

ศึกษาและพัฒนาระบบ CBDC สำหรับรายย่อย

มกราคม 2564

ดำเนินการเสร็จสิ้น

นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาระบบ ตั้งแต่ 2 เมษายน 2564 - 15 มิถุนายน 2564

เมษายน 2564

กำลังดำเนินการ

เผยแพร่การรับฟังความคิดเห็น

รอกำหนดการ

ยังไม่เริ่มดำเนินการ

นำผลการรับฟังความคิดเห็นมาประกอบการพิจารณาเพื่อปรับปรุงแนวทางการพัฒนาระบบ

รอกำหนดการ

ยังไม่เริ่มดำเนินการ

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมงานสกุลเงินดิจิทัล ฝ่ายตลาดการเงิน สายตลาดการเงิน

+66 2356 7235

[email protected]

TAG ที่เกี่ยวข้อง

การเปิดรับฟังความคิดเห็น สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC

คลิปวิดิโอที่เกี่ยวข้อง

​Conversation with the Governor : การเตรียมพร้อมด้าน Cybersecurity ของภาคการเงินไทย​​

26 ธันวาคม 2561

/

เอกสารประกอบการประชุม

รายงาน

24 มีนาคม 2564

เอกสารประกอบการนำเสนอ การปรับปรุงพัฒนา
สกุลเงินดิจิทัล ครั้งที่ 4

ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2 0 2283 6186

รายงาน

3 ตุลาคม 2563

เอกสารประกอบการนำเสนอ การปรับปรุงพัฒนา
สกุลเงินดิจิทัล ครั้งที่ 3

ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2 0 2283 6186

รายงาน

3 กุมภาพันธ์ 2563

เอกสารประกอบการนำเสนอ การปรับปรุงพัฒนา
สกุลเงินดิจิทัล ครั้งที่ 2

ทีมเศรษฐกิจมหภาค 1-2 0 2283 6186

ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

ทีมงานสกุลเงินดิจิทัล ฝ่ายตลาดการเงิน สายตลาดการเงิน

+66 2356 7235

[email protected]

TAG ที่เกี่ยวข้อง

การเปิดรับฟังความคิดเห็น สกุลเงินดิจิทัล Retail CBDC
ขณะนี้มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 314 คน

* ธปท.จะเก็บรักษาความลับและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเท่านั้น ทุกความคิดเห็นที่มีต่อร่างประกาศจะไม่มีผลทางกฎหมาย *

ขณะนี้มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 314 คน

* ธปท.จะเก็บรักษาความลับและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเท่านั้น ทุกความคิดเห็นที่มีต่อร่างประกาศจะไม่มีผลทางกฎหมาย *

ขณะนี้มีผู้ร่วมแสดงความคิดเห็น 314 คน

* ธปท.จะเก็บรักษาความลับและใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์ในการแสดงความคิดเห็นต่อร่างประกาศเท่านั้น ทุกความคิดเห็นที่มีต่อร่างประกาศจะไม่มีผลทางกฎหมาย *

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์