Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Maecenas porttitor congue massa.

ภาพรวมการกำกับตรวจสอบ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetuer adipiscing elit. Maecenas porttitor congue massa. Fusce posuere, magna sed pulvinar ultricies,

การติดตาม
แบบต่อเนื่อง

เพื่อกำหนด

  • เพื่อให้มีความเข้าใจรูปแบบธุรกิจ ความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงของกลุ่มธุรกิจทางการเงิน (bottom-up)
  • เพื่อเข้าใจปัจจัยภายนอก เสถียรภาพระบบสถาบันการเงินที่มีผลกระทบต่อ ธพ. (top-down)

ON GOING MORNITORING

แผนการกำกับตรวจสอบ

เพื่อกำหนด

  • ขอบเขตการตรวจสอบ
  • วิธีการตรวจสอบ (การตรวจสอบประจำปี การตรวจสอบเฉพาะเรื่อง การพบผู้บริหารสถาบันการเงิน)
  • การจัดสรรอัตรากำลังในการตรวจสอบ

SUPERVISORY PLANNING

มาตรการดำเนินการกับสถาบันการเงิน

เพื่อกำหนดมาตรการดำเนินการกับสถาบันการเงินและบริษัทในกลุ่มธุรกิจทางการเงิน มาตรการ ป้องกันปัญหา (Prompt Preventive Action) มาตรการแก้ไขปัญหา (Prompt Corrective Action) แผนรองรับการแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง และแผนการแก้ไขปัญหาสถาบันการเงิน (Recovery and Resolution Plan)

SUPERVISORY ACTION

การกํากับตรวจสอบแบบต่อเนื่อง

1.  การตรวจสอบ ณ สถานที่ทำการของสถาบันการเงิน  (Onsite Examination) แบ่งเป็น 3 ประเภทดังนี้

การตรวจสอบประจำปี (Annual exam)

เพื่อประเมินความเสี่ยงโดยมุ่งเน้นธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) ของ สง. เป็นหลัก

รวมถึงประเมินความเพียงพอของเงินกองทุนและการกันเงินสำรอง ความสามารถในการหารายได้ ระบบบริหารตามหลักธรรมาภิบาล การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของ ธปท. ทั้งนี้ อาจตรวจสอบแบบเต็มรูปแบบ (Full Scope) หรือตรวจสอบแบบ Site Visit ในกรณีที่ไม่มีประเด็นสำคัญหรือไม่มีนัยสำคัญต่อระบบการเงิน

การตรวจสอบและพบผู้บริหารสถาบันการเงิน

เมื่อมีประเด็นสำคัญเฉพาะเรื่องที่ต้องติดตามใกล้ชิด (Ongoing Exam)

การตรวจสอบเฉพาะเรื่องในธุรกรรมที่สำคัญต่อระบบสถาบันการเงินหรือเศรษฐกิจ

โดยตรวจสอบสถาบันการเงินหลายแห่งพร้อมกัน (Thematic Exam)

2. การวิเคราะห์และติดตามฐานะ (Monitoring and Analysis)

ติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงฐานะการดำเนินงานของสถาบันการเงินและเสถียรภาพของระบบสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

โดยผสมผสานการวิเคราะห์ฐานะการเงินและการบริหารความเสี่ยง โดยใช้หลักมองไปข้างหน้า (Forward looking) และการวิเคราะห์แบบภาพรวม (Top Down) และรายแห่ง (Bottom Up) ประเมินฐานะและความเสี่ยง

ประเมินฐานะและความเสี่ยงของธุรกรรมที่มีนัยสำคัญ

โดยรวมถึงกลุ่มธุรกิจการเงินของสถาบันการเงิน (Consolidated Supervision) เพื่อประเมินผลกระทบต่อฐานะและความมั่นคงของสถาบันการเงินในอนาคต การประเมินความมีนัยสำคัญเทียบกับระบบ (Peer Comparison)

ติดตามข้อมูลสำคัญที่อาจบ่งชี้สัญญาณของปัญหาได้ล่วงหน้า (Early Warning Indicators) อย่างใกล้ชิด

เพื่อให้สามารถเตรียมการป้องกันหรือวางแนวทางแก้ไขปัญหาได้ล่วงหน้า

จัดทำ Supervisory Plan

เพื่อติดตามฐานะการดำเนินงานและความเสี่ยงของสถาบันการเงินอย่างใกล้ชิด ตลอดจนติดตามการปฏิบัติตามคำสั่งการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาได้ทันท่วงที

แนวทางการตรวจสอบแบบเน้นธุรกรรมที่สำคัญของสถาบันการเงิน (Significant Activities Supervisory Framework)

กระบวนการประเมินความเสี่ยงจะเริ่มจากการเข้าใจธุรกิจของ สง. เพื่อระบุธุรกรรมที่สำคัญ (Significant Activities : SA) ซึ่งมีผลกระทบต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน กลยุทธ์และการบริหารงานของสถาบันการเงิน ได้แก่ ธุรกรรมด้านสินเชื่อ การบริหารเงิน การบริหารสินทรัพย์และหนี้สิน และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยยังคงหลักการพื้นฐานของการตรวจสอบตามแนวความเสี่ยง (Risk-based Supervision) อันเป็นแนวทางปฏิบัติที่เป็นมาตรฐานสากล ธุรกรรมที่สำคัญแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

Line of Business

ธุรกิจหลักของ สง.

เช่น สินเชื่อธุรกิจ, สินเชื่อ SMEs และ สินเชื่อรายย่อย

Institution-wide Process

กระบวนการดำเนินงานหลักของ สง.

เช่น Treasury, IT Operation, Asset- Liability Management และ Strategic planning

Business Unit

หน่วยธุรกิจหรือบริษัทในเครือ

เช่น สาขาต่างประเทศ และบริษัทในเครือ

กระบวนการประเมินความเสี่ยงแต่ละ SA จะพิจารณาจากความเสี่ยงที่มีอยู่ (Inherent Risk: IR) ของธุรกรรมนั้น ๆ และคุณภาพการจัดการเพื่อลดความเสี่ยงดังกล่าว (Quality of Risk Management: QRM) โดย QRM จะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ ระดับการปฏิบัติงานประจำวัน (Day to Day Operation) และระดับควบคุมดูแล (Oversight Function) ซึ่งประกอบด้วย 6 ด้าน ได้แก่ คณะกรรมการ สง. ผู้บริหารระดับสูง งานบริหารความเสี่ยง งานกำกับการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ งานตรวจสอบภายใน และงานนำเสนอข้อมูลทางการเงินและข้อมูลเชิงบริหาร เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกรรมของ สง. มีการดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐานและแนวปฏิบัติที่ดี  แต่ละ SA ภายหลังจากการจัดการความเสี่ยงแล้ว มีความเสี่ยงสุทธิ (Net Risk) คงเหลืออยู่ในระดับใด และเมื่อนำมา Net Risk ของทุก SA ของ สง. มาพิจารณารวมกันจะได้ความเสี่ยงรวมสุทธิ (Overall Net Risk) ของ สง. หลังจากนั้น จึงมาพิจารณาร่วมกับเงินกองทุน ความสามารถในการหารายได้ ธรรมาภิบาลและการปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางการ จะได้ระดับความเสี่ยงโดยรวม (Composite Rating) ของ สง. นั้น ๆ ซึ่งแสดงดังรูปด้านล่าง

การกำกับดูแลด้านการคุ้มครองสิทธิของผู้ใช้บริการทางการเงิน (Market Conduct Supervision)

ธปท. จัดตั้งฝ่ายคุ้มครองผู้ใช้บริการทางการเงิน ในปี 2559 เพื่อทำหน้าที่ออกหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภค ตรวจสอบการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ ตลอดจนรับเรื่องร้องเรียนและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับการใช้บริการทางการเงินจากสถาบันการเงินและผู้ให้บริการทางการเงินอื่นที่ ธปท. กำกับดูแลและตรวจสอบ โดยมีจุดมุ่งหมายหลักให้ผู้ให้บริการมีการแข่งขันด้านการให้บริการ/ค่าธรรมเนียมที่เหมาะสมเป็นธรรม และผู้ใช้บริการเข้าใจสิทธิ ได้รับการคุ้มครอง และสามารถเลือกใช้บริการได้ตรงกับความต้องการ

ธปท:

- กำหนดหลักเกณฑ์: เป็นองค์รวม มีอำนาจ ชัดเจน

- ตรวจสอบและบังคับใช้: มีประสิทธิผล เน้นผลลัพธ์ และเปิดเผยต่อสาธารณะชน

- ร่วมมือกับ ก.ล.ต. คปภ. สคบ.

ผู้ให้บริการทางการเงิน:

คณะกรรมการและผู้บริหารระดับสูง

- ให้ความสำคัญและควบคุมดูแลด้าน Market Conduct

- จัดทำและมีกระบวนการติดตามให้มีการปฏิบัติตาม Code of Conduct

ประชาชน: ผลักดันโดย

- มีการเปิดเผยข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่เปรียบเทียบได้เพื่อให้มีข้อมูลเพียงพอต่อการตัดสินใจ

- ให้ความรู้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง

การกำกับสถาบันการเงิน บริษัทบริหารสินทรัพย์และ Non-bank ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแล

  • ​ควบคุมและกำกับดูแลให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎหมายและนโยบายของทางการ
  • พิจารณาคำขออนุญาต คำขอผ่อนผันต่าง ๆ
  • พิจารณาการให้ใบอนุญาตแก่สถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้การกำกับ
  • ตอบข้อซักถามชี้แจงหลักเกณฑ์หรือข้อกฎหมายให้สถาบันการเงินทราบ
ธุรกิจการเงินที่ ธปท. กำกับดูแล

การดำเนินการกับสถาบันการเงินที่มีปัญหาในการดำเนินกิจการหรือปฏิบัติฝ่าฝืนกฎหมาย

สายกำกับสถาบันการเงิน มีหน้าที่รับผิดชอบในการพิจารณากำหนดมาตรการให้สถาบันการเงินที่มีปัญหาด้านฐานะการเงินและการดำเนินงาน ทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่กล่าวภายในเวลาที่กำหนด โดยนำเสนอมาตรการดังกล่าวต่อคณะอนุกรรมการพัฒนาการตรวจสอบสถาบันการเงิน และ/หรือ คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน เพื่อพิจารณาก่อนแจ้งสถาบันการเงินต่อไป โดย Relationship Manager ผู้รับผิดชอบดูแลสถาบันการเงินจะติดตามให้สถาบันการเงินมีการปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งการของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง

กรณีที่สถาบันการเงินมีการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมาย จะมีการนำเสนอต่อคณะทำงานกลั่นกรองการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย เพื่อพิจารณาดำเนินการกับสถาบันการเงินและ/หรือผู้บริหารสถาบันการเงิน ก่อนจะนำเสนอต่อคณะทำงานการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมาย (ทพม.) เพื่อพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายต่อไป สำหรับ Non-bank กรณีมีการปฏิบัติไม่ชอบด้วยกฎหมายจะส่งฝ่ายกฎหมายพิจารณาแล้วส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อให้พนักงานสอบสวนพิจารณาดำเนินคดีต่อไป

การบริหารงานเกี่ยวกับการกำกับตรวจสอบสถาบันการเงิน

การวางแผนงานและการติดตามผลการปฏิบัติงาน

สายกำกับสถาบันการเงินมีการวางแผนงานประจำปีและแผนกลยุทธ์ ซึ่งรวมถึงแผนการตรวจสอบสถาบันการเงินประจำปีเพื่อให้การปฏิบัติงานกำกับและตรวจสอบบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดและมีการจัดสรรทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนการตรวจสอบประจำปีจะดำเนินการตามนโยบายการกำกับตรวจสอบ เมื่อออกตรวจสอบแล้วจะมีการติดตามการปฏิบัติงานตามแผนการตรวจสอบเป็นประจำทุกเดือน แผนการตรวจสอบดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงได้ในกรณีที่ฐานะและผลการดำเนินงานของสถาบันการเงินมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

การบริหารทรัพยากรบุคคล

สายกำกับสถาบันการเงินให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้ตรวจสอบเป็นอย่างมาก ผู้ตรวจสอบจะได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทั้งหลักสูตรที่เป็นมาตรฐานของโรงเรียนผู้ตรวจสอบ และหลักสูตรพิเศษอื่น ๆ รวมถึงการสัมมนาหรือการบรรยายให้ความรู้เชิงวิชาการโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากภายในและภายนอกประเทศ และองค์กรที่ทำหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการเงินในประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งนี้ ผู้ตรวจสอบที่ผ่านกระบวนการอบรมตามหลักสูตรมาตรฐานของโรงเรียนผู้ตรวจสอบของสายกำกับสถาบันการเงินและมีคุณสมบัติตามเกณฑ์แล้วจึงจะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ตรวจการสถาบันการเงิน

การเข้ารับการประเมินภาคการเงินตามโครงการ Financial Sector Assessment Program (FSAP)

บันทึกลงใน

My Collections

เพิ่มลงในโฟลเดอร์

สร้างโฟลเดอร์

Cryptocurrency

นโยบายการเงิน

Fintech

ดอกเบี้ย

กรุณาหมุนหน้าจอของคุณเป็นแนวตั้ง
เพื่อประสบการณ์ที่ดีในการรับชมเว็บไซต์